ผลงานเชิงประจักษ์ : โรงเรียนในฝัน

โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีประจำอำเภอ)

สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
           โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน  เป็นโครงการหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลที่จะสร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ในชนบทและชานเมือง ได้รับการศึกษาที่ดี  มีคุณภาพชีวิตในโรงเรียนในท้องถิ่นใกล้บ้าน ได้รับการยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานทัดเทียมกับโรงเรียนชั้นดีในเมือง โดยคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในหลักการโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน (Lab School  Project) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2546 และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการ พัฒนาแนวคิดและหลักการ โดยมีความเชื่อว่าการศึกษาสามารถพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพ สามารถลดช่องว่างของบุคคล
ในสังคมลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนชาวไทยสามารถหลุดพ้นจากวงจรความยากจน อันเป็นจุดหมายที่สำคัญของรัฐบาล ดังนั้นโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน จึงเป็นกระบวนการในการพัฒนาโรงเรียน
ให้เป็นโรงเรียนในฝันของคนในสังคมที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ และขณะเดียวกันโครงการนี้ก็จะช่วยให้ความฝันของคนในสังคมเป็นจริงได้
           โรงเรียนในฝัน เป็นโรงเรียนที่มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานทางการศึกษาของชาติ  
ซึ่งจะต้องมีลักษณะดังนี้
               1. จัดการศึกษาได้คุณภาพมาตรฐาน ปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้อง กับความต้องการของท้องถิ่น แข่งขันได้ในระดับสากล ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานชาติ สามารถพัฒนา
สู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานความเป็นไทย จัดบรรยากาศการเรียนรู้ เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
และมีความเป็นประชาธิปไตย
               2. เป็นตัวอย่างการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับอำเภอที่มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเคียง 
กับโรงเรียนชั้นนำเป็นที่ยอมรับศรัทธาของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนที่เน้นการมีส่วนร่วม
               3. มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ บริหารคุณภาพทั้งระบบ มีความคล่องตัว รวดเร็ว ทันสมัย มีผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพและมีจำนวนเพียงพอ
               4. มีความเข้มแข็งทางวิชาการ สามารถเป็นต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนช่วยเหลือ พัฒนาชุมชน และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาและชุมชนเข้มแข็ง
               5. มีเครือข่ายการสนับสนุน มีกระบวนการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นแหล่งทดลองสาธิต และฝึกอบรมครูของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
               6. สื่อและเทคโนโลยีทันสมัยเพียงพอ เป็นระบบเครือข่ายและเอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน
               7. เป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่น ๆ นำนวัตกรรมทางการศึกษาที่ทันสมัยไปพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพมาตรฐาน ลักษณะทางกายภาพของโรงเรียนได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
           ศูนย์บริหารโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการที่สอดรับกับกลยุทธ์ดังนี้
               1. นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ มีนิสัยใฝ่เรียน เรียนเป็น มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์
               2. นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิต มีคุณธรรม มั่นใจในตนเอง และกล้าแสดงออก
               3. นักเรียนมีความเป็นไทยมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมไทย และ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
               4. โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่ดี มีบรรยากาศและวัฒนธรรมการปฏิบัติงานแบบกัลยาณมิตร สร้างสรรค์และร่วมรับผิดชอบ มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนา
           โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 3 (โรงเรียนดีประจำอำเภอ) โรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานตามรายการประเมินเพื่อรับรองการเป็นโรงเรียนต้นแบบในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านกระบวนการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน
ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา และด้านงบประมาณและทรัพยากร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามรายการประเมินเพื่อรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบมาเป็นกรอบงานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งใช้หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงเรียนและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อันจะสร้างความรักความผูกพัน ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนางาน บริหารงานด้วยความโปร่งใส และกระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้บุคลากรตามความเหมาะสม เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้สามารถดำรงคุณภาพตามรายการประเมินเพื่อรับรองการเป็นโรงเรียนต้นแบบได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากการสำรวจความพร้อมเพื่อรับการประเมินโรงเรียน พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้
1)    ด้านคุณภาพนักเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ และนักเรียนขาดทักษะ
ในการดำรงชีวิต ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์
            2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า ครูผู้สอนยังไม่ได้นำเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลการวิจัยมาใช้อย่างจริงจัง ครูบางคนขาดความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนที่มีประสิทธิภาพ และขาดความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ  ICT มาใช้จัดการเรียนการสอน เป็นต้นว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
            3) ด้านแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนยังขาดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน และระบบการสืบค้นข้อมูลอินเทอร์เน็ตไม่มีคุณภาพ อาคารสถานที่และภูมิทัศน์ของโรงเรียนยังไม่ได้รับการดูแลตกแต่งให้เกิดความสวยงามและเอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  
      แรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่น
                จากสภาพพื้นฐานของโรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก และจากการโรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 3 (โรงเรียนดีประจำอำเภอ) ข้าพเจ้าจึงได้นำแนวคิดการพัฒนาโรงเรียนให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน โดยนำแนวทางการบริหารจัดการในองค์กรที่เรียกว่า การจัดการความรู้ สู่โรงเรียนในฝัน การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกระบวนการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้  
               1. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ มีนิสัยใฝ่เรียน เรียนเป็น มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์
               2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิต มีคุณธรรม มั่นใจในตนเอง และกล้าแสดงออก
               3. เพื่อให้นักเรียนมีความเป็นไทยมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมไทย             และภูมิปัญญาท้องถิ่น                
                4. เพื่อให้วัฒนธรรมการทำงานของคนในองค์การปรับเปลี่ยนจากเดิมมาสู่การมีวินัยในตนเอง มีการศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ตลอดชีวิต ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มีพลังในการคิดสร้างสรรค์ มีความขยัน อดทน มีจิตสำนึกของการเป็น "ผู้ให้" และมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย  
                5. เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่หลากหลายและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นได้เรียนรู้และได้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้
           ขอบเขตของการประเมินโรงเรียนเพื่อรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบ
            การประเมินโรงเรียนเพื่อรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน
มีรายการประเมินรวม 4 ด้าน ดังนี้
               1. ด้านคุณภาพผู้เรียน
                   1.1 เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
                   1.2 มีทักษะในการดำรงชีวิต มั่นใจในตนเอง
                   1.3 มีความเป็นไทย
               2. ด้านกระบวนการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน
                   2.1 โรงเรียนธรรมาภิบาล
                   2.2 สร้างโอกาสและดูแลช่วยเหลือนักเรียน
                   2.3 บูรณาการกระบวนการเรียนรู้
                   2.4 การประกันคุณภาพ
               3. ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา
                   3.1 ความเป็นมืออาชีพ
                   3.2 E – School
               4. ด้านงบประมาณและทรัพยากร
                   4.1 ภาคีเครือข่าย
                   4.2 ความคุ้มค่า
            แนวคิดทฤษฎีการจัดการความรู้สู่โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีประจำอำเภอ)
            ในการบริหารจัดการความรู้สู่โรงเรียนในฝัน ได้นำแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
โรงเรียนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดังนี้
              แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
หรือเรียกย่อ ๆ ว่า KM 
              การจัดการความรู้ (Knowledge Management) มีมาแต่โบราณกาลโดยเฉพาะในครอบครัวไทยที่มีการเรียนรู้ตามแบบอัธยาศัย พ่อแม่สอนลูก ปู่ย่า ตายาย ถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาให้แก่ลูกหลานในครอบครัวทำกันมาหลายชั่วอายุคน โดยใช้วิธีธรรมชาติ เช่น พูดคุยสั่งสอน จดจำ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีกระบวนการที่เป็นระบบแต่อย่างใด วิธีการดังกล่าว ถือว่าเป็นการจัดการความรู้รูปแบบหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามโลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่าง ๆ การใช้วิธีการจัดการความรู้แบบธรรมชาติอาจก้าวตามโลกไม่ทัน จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการที่เป็นระบบเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถทำให้บุคคลได้ใช้ความรู้ที่ต้องการ ได้ทันเวลาและเพิ่มผลผลิต มีศักยภาพในการแข่งขันขององค์กร
            องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ คือ คน เทคโนโลยี และกระบวนการความรู้ คนถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งความรู้และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น ส่วน กระบวนการความรู้เป็นการบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงและสร้างนวัตกรรม องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล (บุญดี บุญญากิจ และคณะ. 2549: 8) และในยุคของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge based Society and Economy) ได้ให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจที่สามารถขับเคลื่อนด้วยการใช้ความรู้ (Drucker. 2007 : 451) สำหรับความเจริญต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้นวัตกรรมที่พัฒนาด้วยปัญญาและความรู้เป็นฐานอันสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะองค์กรทางการศึกษาสามารถนำความรู้  และพัฒนาการดำเนินงานหรือนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน สำหรับการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ กำหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำความรู้ไปใช้ และการติดตามและประเมินผล (พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. 2550) หากองค์กรทางการศึกษาใดสามารถจัดการกับความรู้และภูมิปัญญาของบุคลากรในองค์กรได้อย่างเป็นระบบรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรในมิติต่าง ๆ ทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาองค์กรได้อย่างครบถ้วนแล้วนั้นย่อมสามารถนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างแน่นอน
        องค์ประกอบหลักในการพัฒนา Knowledge Management
               องค์ประกอบหลักในการพัฒนาองค์ความรู้ ประกอบด้วย
1.    ผู้นำ (Leadership) หัวหน้า หรือผู้บริหารในองค์กรจะต้องเป็นผู้นำในเรื่องที่ต้องกาพัฒนา
ทำให้เป็นตัวอย่างและขยายต่อสมาชิกในองค์กรรับทราบและปฏิบัติตามต่อไป
2.    วัฒนธรรม (Culture) วัฒนธรรมในองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญ หาผู้นำมีความชัดเจน เด็ดขาด
จริงจังในการจัดการความรู้ เป็นตัวอย่างปฏิบัติที่ดี มีการกระจายงาน มีความเข้าใจงานทุกส่วนขององค์กร
เป็นอย่างดีแม้จะไม่ได้ลงมือปฏิบัติเอง มีเวลาเพียงพอให้กับพนักงานและองค์กร จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีในองค์กรและหน่วยงาน
3.    การเข้าถึงแหล่งความรู้ (Access) ต้องเข้าถึงได้ตรงตามความต้องการ ทันเวลาและทันสมัย
4.    เทคโนโลยี (Technology) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการ
5.    วัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรให้
ประสบความสำเร็จ ต้องเริ่มจากฝ่ายบริหารระดับสูงและไล่ระดับลงมาจนถึงระดับล่าง เพราะเรื่องของการ
จัดการความรู้ไม่สามารถทำได้จากคนเพียงคนเดียว หรือกลุ่มคนกลุ่มเดียวแต่จะต้องทำให้ได้ทั้งองค์กร
นอกจากนี้ยังเป็นการเก็บความรู้ไว้กับองค์กร เพราะมีการบันทึกแบบมีแบบแผนและขั้นตอนไว้แล้ว
6.    บรรยากาศอิสระ แต่จริงจัง ไม่เชิงบังคับ แต่มีกรอบปฏิบัติ และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้นการดำเนินตามโครงการโรงเรียนในฝัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการตามกรอบ ดังนี้
              การดำเนินโครงการโรงเรียนในฝัน ดำเนินการภายใต้แนวคิดที่สำคัญ 7 ประการ คือ
                   1. การกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้แก่เด็กและเยาวชนไทยได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเทียบเคียงกับโรงเรียนชั้นนำ
                   2. จัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานโดยการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                   3. พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีจำนวนเพียงพอ เป็นระบบเครือข่ายและเอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน
                   4. พัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทย ให้เติบโตเป็นคนดีมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
                   5. บริหารจัดการทั้งระบบ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ให้มีจำนวนผู้บริหาร ครู และบุคคลากรมืออาชีพอย่างเพียงพอ
                   6. เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและชุมชนในท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
                   7. การประเมินผล เน้นการประเมินผลเพื่อการพัฒนาภายในโรงเรียนและการรอรับคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ
               การดำเนินงานนอกจากจะยึดกรอบแนวคิดที่กำหนดแล้ว ยังมีความเชื่อว่าการศึกษาสามารถพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถลดช่องว่างของบุคคลในสังคมลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนชาวไทยสามารถหลุดพ้นจากวงจรความยากจน ดังนั้น ทิศทางและภาพความสำเร็จของโครงการ คือ พลิกระบบการศึกษา หยุดวงจรความยากจน ส่วนวิสัยทัศน์ คือ การสร้างโอกาสให้เด็กไทย ซึ่งนำไปสู่พันธกิจ
คือ สร้างโรงเรียนชั้นดีให้เด็กไทยได้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต คิดวิเคราะห์ มีความสามารถด้านเทคโนโลยี   มีคุณธรรมรักษ์วัฒนธรรมไทยและมั่นใจในตนเอง ซึ่งจากวิสัยทัศน์และพันธกิจของโครงการโรงเรียนในฝัน   นำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์หลัก 5 ประการ ดังนี้
                   1. สร้างพลังขับเคลื่อนให้โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี คล่องตัวมีประสิทธิภาพส่งผลให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพ มีคุณภาพที่ยอมรับของสังคม
                   2. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถ คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์และทักษะการดำรงชีวิตได้ตามศักยภาพ
                   3. ส่งเสริมศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้เป็นมืออาชีพ มีทักษะในการปฏิบัติงาน สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
                   4. เพิ่มสมรรถนะของโรงเรียนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้และบริหารจัดการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
                   5. ระดมสรรพกำลังสร้างภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ที่เข้มแข็ง อันเกิดจากพลังจากการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กร ประชาสังคมในรูปแบบของผู้อุปถัมภ์และผู้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และร่วมพัฒนา

วิธีดำเนินการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
        ในการดำเนินการจัดการบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาและให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามมาตรฐานของโรงเรียนในฝัน ข้าพเจ้าดำเนินการดังนี้
           1. ด้านการเตรียมความพร้อมของโรงเรียน
               1.1 ด้านคุณภาพผู้เรียน
                   1) ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ หมายถึง นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นผู้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ โรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ การแข่งขันทักษะภาษาไทย กิจกรรมวันสุนทรภู่ โครงการลานดนตรีเวทีคนเก่ง การแข่งขันทักษะการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กิจกรรมการแข่งขันและแสดงผลงานทางวิทยาศาสตร์ การปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ กิจกรรมเข้าค่าย English Camps และกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ เช่น การประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ การแข่งขันเกมคณิตศาสตร์ ห้องเรียนคุณภาพคณิตศาสตร์ เป็นต้น
                   2) มีทักษะในการดำรงชีวิต มั่นใจในตนเอง หมายถึง นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิต      มีคุณธรรม มั่นใจในตนเอง และกล้าแสดงออก ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ยืนหยัดสถาบัน เสริมสร้างความเป็นผู้นำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมเสริมสร้างวินัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมฐานลานบุญลานบ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมอิ่มบุญ อุ่นรักตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมจิตอาสาส่งเสริมคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ลดโลกร้อนด้วยวิถีพอเพียงกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ กิจกรรมพี่สอนน้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมฐานอุทยานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาโรงเรียน กิจกรรมธนาคารโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์และอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ กิจกรรมเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                   3) มีความเป็นไทย หมายถึง นักเรียนมีความเป็นไทย มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรม ดังนี้ โครงการยิ้มไหว้ทักทาย กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ กิจกรรมรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ยืนหยัดสถาบัน เสริมสร้างความเป็นผู้นำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมเสริมสร้างวินัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมฐานลานบุญลานบ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมอิ่มบุญ อุ่นรักตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมจิตอาสาส่งเสริมคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   
               1.2 ด้านกระบวนการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน
                   1) โรงเรียนธรรมาภิบาล หมายถึง โรงเรียนที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีบรรยากาศและวัฒนธรรมการปฏิบัติงานแบบกัลยาณมิตร ผนึกพลังสร้างสรรค์และร่วมรับผิดชอบ มีเอกลักษณ์อัน
โดดเด่น โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนา ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรม ดังนี้
           จัดโครงสร้างการบริหารงาน โรงเรียนได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่
การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไปจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานสอดคล้องกับโครงสร้างโรงเรียนได้จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยยึดมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษาและโครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน  การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินและร่วมรับผิดชอบ จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย โรงเรียนได้แบ่งพื้นที่ภายในโรงเรียนให้นักเรียนและครูที่ปรึกษา ทุกห้องได้ลงพื้นที่ทำความสะอาด ซึ่งจะเป็นการสร้างนิสัยให้นักเรียนรักความสะอาดและมีจิตสาธารณะจัดทำห้องเรียนคุณภาพ โรงเรียนมีนโยบายให้นักเรียนเดินเรียนโดยจัดห้องเรียนทุกห้องให้เป็นแหล่งเรียนรู้  เป็นห้องเรียนคุณภาพที่มีสื่ออุปกรณ์การสอนที่พร้อม  มีงานวิจัยใน ชั้นเรียนที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โครงการห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนได้จัดห้องสมุดเพิ่มเติมจากห้องสมุดโรงเรียน เป็นห้องสมุดที่จัดบรรยากาศที่น่าอ่าน สวยงาม หนังสือที่อ่านง่ายดึงดูดให้สนใจอ่าน เพื่อให้นักเรียนรักการอ่าน
                   2) สร้างโอกาสและดูแลช่วยเหลือนักเรียน หมายถึง โรงเรียนให้บริการทางการศึกษาได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริมนักเรียนตามศักยภาพ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรม ดังนี้  จัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มพิเศษทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือ ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนครบ 100 % มีงานแนะแนวและครูที่ปรึกษาเป็นผู้คอยให้คำแนะนำปรึกษาทั้งเรื่อง การเรียน การดำเนินชีวิต การศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ รวมถึงระดมทุนและจัดหาทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เรียนดี ประพฤติดีแต่ยากจน ครูที่ปรึกษาดูแลนักเรียนเตรียมพร้อมก่อนการเรียนของนักเรียนหน้าเสาธง  จัดสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในระดับชั้น ม.1 และ ม.4 เพื่อเป็นการคัดกรองนักเรียนในด้านวิชาการเพื่อคัดแยกนักเรียนตามระดับความรู้ความสามารถโดยเฉพาะนักเรียนกลุ่มที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนจะได้จัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนแตกต่างจากกลุ่มทั่วไป                         3) บูรณาการกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น เน้นการบูรณาการการเรียนรู้และการดำรงชีวิต ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรม ดังนี้ จัดทำหลักสูตรที่แสดงเอกลักษณ์และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น มีการจัดหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมหลากหลาย เน้นการบูรณาการและสอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทุกระดับชั้นมีการใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัดการการเรียนรู้  มีโครงการสานฝันสู่รั้วมหาวิทยาลัยโดยโรงเรียนจะจัดกิจกรรมติวเข้มให้นักเรียน ม.ทุกคนเพื่อให้มีความพร้อมในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย โดยคณะครูในโรงเรียนและบุคคลภายนอกมาติวเตรียมความพร้อมสำหรับสอบ O-NET, GAT, PAT และการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลและผู้ปกครองนักเรียน
                   4) การประกันคุณภาพ หมายถึง โรงเรียนเพิ่มระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสูงขึ้นเป็นที่ยอมรับของชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง โดยโรงเรียนได้จัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐานและมาตรฐานของสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา
               1.3 ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา
                   1) ความเป็นมืออาชีพ หมายถึง ครู ผู้บริหาร คณะครูบุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ ความสามารถ และจิตวิญญาณในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนจัดอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพเพื่อความเป็นมืออาชีพ ได้แก่ การอบรมการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการผลิตสื่อ ICT การอบรมการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือถึงการดำเนินการของโรงเรียนในแต่ละภาคเรียนและในโอกาสที่มีงานสำคัญที่ต้องอาศัยการตัดสินใจร่วม การอบรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้และฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                   2) E–School หมายถึง โรงเรียนเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยได้กำหนดเป้าหมายสำหรับโรงเรียนทุกโรงเรียนไว้ดังนี้ โครงการจัดหาสื่อ อุปกรณ์พื้นฐานด้าน ICT โรงเรียนในฝันเป็นโรงเรียนที่เน้นการจักการเรียนรู้โดยใช้สื่อ ICT เป็นหลัก แต่เนื่องจากมีราคาแพงและมีงบประมาณจำกัด โรงเรียนจึงได้จัดทำผ้าป่าเพื่อการศึกษาเพื่อระดมทุนจัดซื้อสื่อให้เพียงพอ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการและการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้าน ICT เพิ่มมากขึ้น
               1.4 ด้านงบประมาณและทรัพยากร
                   1) ภาคีเครือข่าย หมายถึง โรงเรียนมีระบบเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญ พี่เลี้ยงศึกษานิเทศก์ ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยกำหนดเป้าหมายไว้ คือ โรงเรียนทุกโรงเรียนได้รับการสนับสนุนการจัดการศึกษาจากภาคีเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญ พี่เลี้ยง ศึกษานิเทศก์ โรงเรียนต้นแบบ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มขึ้นและอัตราการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและพัฒนาของผู้อุปถัมภ์แต่ละประเภทเพิ่มขึ้น
                   2) คุ้มค่า หมายถึง โรงเรียนมีทรัพยากรที่เหมาะสม ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลโดยกำหนดเป้าหมายไว้ ดังนี้
                       - โครงการเพิ่มอัตรากำลังบุคลากร
                       - ครู/ บุคลากรทุกคนได้ปฏิบัติงานตรงตามความรู้ความสามารถ
                       - โรงเรียนบริหารงบประมาณ แบบมุ่งเน้นผลงาน โรงเรียนได้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีโดยการร่วมคิดร่วมทำของบุคลากรทุกคนที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก ให้เกิดการปฏิบัติได้จริงและสอดคล้องกับความต้องการที่จำเป็นจริง ๆ  
                       - มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี การจัดทำ ID-Plan รายงานผลการปฏิบัติงาน
ของบุคลากรครู และจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา (SAR)
2. ด้านการเตรียมการเพื่อรับการประเมิน
           การเตรียมการเพื่อรับการประเมินโรงเรียนในฝัน ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินโครงการให้ประสบผลสำเร็จ มีบทบาทสำคัญ ดังนี้
                1. ศึกษาแนวทางการดำเนินการ รายละเอียดโครงการ รายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย คุณภาพของผู้เรียน คุณภาพครู แหล่งการเรียนรู้ สุขภาพอนามัย ทักษะชีวิต และการบริหารจัดการ ซึ่งประเมินจากผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับผู้เรียน และการบริหารจัดการ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้บริหารต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการประเมิน และวางแผนเตรียมการให้พร้อม
                2. ประชุมวางแผนดำเนินงาน หลังจากทำความเข้าใจกับแนวทางการพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนในฝันแล้ว จึงขยายผลแนวดำเนินงาน รูปแบบการปฏิบัติงานสู่คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ได้รับทราบหลักเกณฑ์การดำเนินการ พร้อมทั้งประสานงานความร่วมมือการดำเนินการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตามโครงสร้างการบริหารงาน 4 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารงานทั่วไป รวมถึงการบริหารงานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ โดยใช้แนวคิดหลักในการบริหารจัดการ คือ การทำงานแบบมีส่วนร่วม การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปฏิบัติงานของบุคลากรทุกฝ่าย ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ บริหารงานตามวงจรการทำงานแบบ PDCA ในทุกกิจกรรม ประชุมคณะครูเพื่อกำหนดโครงการ กิจกรรมเพื่อรองรับการประเมินทั้งด้านคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพครู แหล่งการเรียนรู้ สุขภาพอนามัย ทักษะชีวิต และการบริหารจัดการ กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ออกคำสั่งแต่งตั้งครูและบุคลากรเพื่อการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมที่ร่วมกำหนดไว้ โดยพิจารณาตามวุฒิการศึกษา ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และประสบการณ์ในการทำงาน การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เป็นต้นว่า ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดกลุ่มสาระฯ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ICT ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
เพื่อการค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยระดมทรัพยากรจากผู้ปกครองชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
                3. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการ เป็นการเตรียมการฝึกซ้อมเพื่อรอรับการประเมิน ผู้บริหารทำหน้าที่ในการสนับสนุน ส่งเสริม ควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมที่แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดเตรียม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การสืบค้นข้อมูล การนำเสนอข้อมูลและทักษะชีวิต การเชื่อมโยงความรู้สู่การดำเนินชีวิตประจำวันที่มีประสิทธิภาพ
       - ประสานความร่วมมือกับคณะครูให้ดำเนินการพัฒนานักเรียนตามบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับตนเองให้เต็มที่ ต้องฝึกสอน อบรม ให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ความรู้ความสามารถในตัวผู้เรียนมากที่สุด จนได้ผลงาน/ชิ้นงานที่เกิดจากการเรียนรู้ และสามารถนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
พร้อมทั้งเสนอแนะแก้ปัญหาในขณะที่ดำเนินการไม่ว่าจะเป็นส่วนของสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ หรือนักเรียนในแต่ละกิจกรรม
                - ชี้แจง อธิบายให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนตระหนักถึงแนวทางในการประเมิน และผลที่ได้จากการประเมินโรงเรียนในฝัน  ผู้บริหารและคณะครูจะต้องชี้แจงและอธิบายให้นักเรียนทุกคนรับรู้และมีความตระหนักรับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินโครงการ มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ และโรงเรียนจัดขึ้น นักเรียนมีบทบาทหน้าที่ ที่จะดำเนินการแสดงให้คณะกรรมการเห็น รับรู้ถึงความรู้ วามสามารถและร่วมรับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ ผู้บริหารเป็นผู้ให้กำลังใจ และคอยกำกับ ติดตามประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทุกระยะของการดำเนินการ
               - ผู้บริหารประสานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อร่วมปรึกษาหารือ มีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการร่วมกับผู้บริหารและคณะครู เพื่อกำหนดบทบาทของตัวเองโดยเฉพาะการประสานความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานอื่น ๆ คณะกรรมการสถานศึกษาจะมีบทบาท
ในการระดมทรัพยากรหรือการพัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               - ผู้บริหารประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ทั้งในส่วนที่เป็นเสียงสะท้อนถึงการบริหารจัดการโรงเรียน การพัฒนาคุณภาพนักเรียน การนำเสนอสิ่งที่ต้องการให้โรงเรียนปรับปรุง พัฒนาเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นระบบ รวมถึงการระดมทรัพยากรในการพัฒนาโรงเรียนอีกด้วย
          ผู้บริหารและครูคณะนิเทศติดตาม ตรวจสอบสรุปผลการดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมิน โดยการลงพื้นที่ ดูแลและแนะนำการจัดกิจกรรม โครงการของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมถึงการเตรียมงานในส่วนพิธีการ การเตรียมมัคคุเทศก์ ประชุมหัวหน้าและเลขานุการผู้รับผิดชอบกิจกรรม เพื่อทราบปัญหา แนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนางานให้มีคุณภาพเพื่อรับการประเมินความพร้อมจากโครงการ ตรวจสอบสรุปผลการประเมิน และข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนางานให้มีคุณภาพ
                4. การรับการประเมินความพร้อม โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 และ
คณะนิเทศโรงเรียนในฝันระดับเขตตรวจราชการ (Roving Team) ผู้บริหารมีหน้าที่ในการประสานงานกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 และคณะนิเทศโรงเรียนในฝันระดับเขตตรวจราชการ เพื่อประเมินความพร้อมก่อนการรับการประเมินจริง และให้ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม การบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพ และประสานคณะครู นักเรียนในการรับฟังความคิดข้อเสนอแนะที่แต่ละคณะให้คำแนะนำ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนอย่างยั่งยืน ผู้บริหารและครูรับผิดชอบในแจ้งผลการประเมินเตรียมความพร้อม ชี้แจง อธิบาย และให้คำแนะนำแก่นักเรียนในการฝึกซ้อม การปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้คล่องแคล่วและพร้อมที่สุด 
                 5. การดำเนินการรับการประเมินต้นแบบโรงเรียนในฝัน หลังจากโรงเรียนผ่านการประเมินเตรียมความพร้อม โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 และคณะนิเทศโรงเรียนในฝันระดับเขตตรวจราชการ (Roving Team) ที่เกี่ยวข้องและมีข้อสรุปว่า โรงเรียนพร้อมรับการประเมินแล้ว ผู้บริหาร มีหน้าที่แจ้งความพร้อมขอรับการประเมินมายังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ซึ่งเป็นต้นสังกัด โรงเรียนเตรียมข้อมูลพื้นฐานด้านคุณภาพทุกด้านเพื่อประกอบการพิจารณา จัดสถานที่ต้อนรับ ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของบริเวณโรงเรียน และสำคัญยิ่ง คือนักเรียนทุกคนต้องมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีความรู้ความสามารถ มีทักษะกระบวนการในการทำงาน มีความคิด ทั้งคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์และคิดสร้างสรรค์ สามารถโต้ตอบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และมีไหวพริบปฏิภาณ มีสมาธิ การแสดงออกซึ่งความเป็นไทย การกระตุ้นให้นักเรียนมีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา กล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำ

ผลที่เกิดจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้
           ผลจากการดำเนินงาน ปรากฏผลดังนี้
1.  ด้านคุณภาพนักเรียน พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นและมีความสามารถ
ในการใช้ทักษะในการสื่อสารและทักษะในการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิตเพิ่มขึ้น
                2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า ครูได้นำเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลการวิจัย
มาใช้อย่างจริงจัง และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น
                3. การปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา สามารถนำหลักสูตรไปใช้ในการเรียนการสอน การนิเทศการสอน การแนะแนวอย่างทั่วถึง
               4. เกิดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายที่นักเรียนสามารถใช้ศึกษาค้นคว้าได้
               5. วัฒนธรรมขององค์กรมีการปรับเปลี่ยนมาสู่การมีวินัยในตนเอง มีการศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ 
               6. เป็นโรงเรียนต้นแบบและเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานอื่น ๆ                               

แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
                1. จัดทำวิจัยพัฒนารูปแบบที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ
                2. ขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนในฝัน และโรงเรียนอื่น ๆ ที่สนใจ
                3. พัฒนาการบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาต่อไป
                4. ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนโดยใช้สื่อ ICT ให้มากยิ่งขึ้น

                5. ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้โดยแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น