สร้างสรรค์ปรางค์กู่สู่วิธีพอเพียง

สร้างสรรค์ปรางค์กู่สู่วิธีพอเพียง
                               
        ประเด็นในการพัฒนา (สิ่งที่จะพัฒนา)
              เมื่อข้าพเจ้าย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ข้าพเจ้ามีแนวคิดในการพัฒนาโรงเรียนปรางค์กู่ ให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
             1. ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ที่ได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ดังนั้นประเด็นในการพัฒนาประกอบด้วย
1.1. พัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา 4 องค์ประกอบ ได้แก่ นโยบาย วิชาการ
งบประมาณ การบริหารงานทั่วไป เพื่อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1.2 พัฒนาด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักสูตร
สถานศึกษามีหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน การพัฒนาสื่อและแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.3 พัฒนาด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การแนะแนวและ
ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน กิจกรรมผู้เรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                 1.1.4 พัฒนาด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การพัฒนา
บุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการติดตามขยายผลการดำเนินงานโครงการ
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
              2. พัฒนาโรงเรียนให้มีแหล่งเรียนรู้และฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างหลากหลาย และขยายผลสู่ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อการพัฒนาสังคม ท้องถิ่นให้ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย
       2.1 การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ และห้องเรียน บรรยากาศในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
       2.2 การพัฒนาฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ 1 ไร่สานฝัน
ฐานการเรียนรู้จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

เป้าหมายในการพัฒนา (ระบุเป้าหมายเชิงปริมาณปริมาณและหรือเป้าหมาย
เชิงคุณภาพและระยะเวลาดำเนินการ)
1. เป้าหมายเชิงปริมาณ
1) นักเรียนโรงเรียนปรางค์กู่                           จำนวน 2,200 คน
        2) ครูโรงเรียนโรงเรียนปรางค์กู่                        จำนวน   102 คน
         3) คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง และตัวแทนชุมชน 
จำนวน   100 คน
2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ
                    1) โรงเรียน มีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความพร้อมที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด ปลูกฝังการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโรงเรียนเป็นศูนย์บริการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง และมีกิจกรรมบริการชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นคุณลักษณะสถานศึกษาพอเพียง
2) ครูและบุคลากรของสถานศึกษา มีความรู้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยนำกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ส่งเสริม พัฒนาผู้เรียนให้สามารถดำรงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้สอดคล้องกับหลัก
สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ที่ได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์
 “อยู่อย่างพอเพียง” เป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารจัดการทรัพยากรและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) นักเรียน มีความรู้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ ด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถขยายความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน ท้องถิ่น
4) ชุมชน มีความเข้มแข็ง เข้าใจในบทบาทของตนเองในการจัดการและพัฒนา
การเรียนการสอน ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนและดำรงตนตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.3 ระยะเวลาดำเนินการ   ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
ร้อยละของความสำเร็จในการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับคุณภาพมากที่สุดคิดเป็นร้อยละเป็น 80

วิธีการพัฒนา
           จากการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักเห็นความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด ปลูกฝังการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้กำหนดเป็นจุดเน้นที่สำคัญ โดยกำหนดในกลยุทธ์ที่ 2 ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา ซึ่งมีระบบการกำกับติดตามการดำเนินงานระบุชัดเจน ดังนั้นโรงเรียนปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาดังกล่าว ด้วยตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้จากการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนานักเรียนในโรงเรียน เพื่อการขยายความรู้ และการปฏิบัติสู่ผู้ปกครองและชุมชน ท้องถิ่นต่อไป ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารโรงเรียนมีวิธีการพัฒนาและขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และบริหารจัดการตามแนวคิดการบริหารคุณภาพวงจรของเดมมิ่ง(The Deming Cycle
โรงเรียนปรางค์กู่ มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งระบบให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะชีวิตและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสุข ขยายความรู้สู่ชุมชน สอดคล้องกับการดำเนินงานโรงเรียน ตามโครงการสร้างสรรค์ปรางค์กู่สู่วิถีพอเพียง โดยบริหารจัดการตามแนวคิดการบริหารคุณภาพวงจรของเดมมิ่ง (The Deming Cycle) ดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ (Plan)
        1.1 ศึกษาเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานโรงเรียน ตามโครงการสถานศึกษา
แบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง              
             1.2 ประชุมปรึกษาหารือร่วมกับฝ่ายบริหาร คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม
             1.3 ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน
             1.4 แบ่งหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ
       1.5 ประชาสัมพันธ์โครงการ       
2. ขั้นตอนดำเนินกิจกรรม (Do) มีการดำเนินงานแบ่งเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย
   2.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา  
                  2.1.1 นโยบาย กำหนดจุดเน้นและยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ แผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียน มีนโยบายน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถาน
ศึกษาและบูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปี ดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติงานประจำปี ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติงานประจำปี นำผลการติดตามมาพัฒนา  นโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรมในโครงการมาขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
                   2.1.2 วิชาการ มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณา
การปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผน
การจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และติดตามผล แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมดังกล่าว แล้วนำผลการติดตามไปพัฒนาแผนงาน / โครงการ / กิจกรรม
ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจของพอเพียงสู่การเรียนการสอน
                      2.1.3 งบประมาณ มีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา
ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการงบประมาณ
ติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานตามงบประมาณ และนำผลการติดตามมาพัฒนาและปรับปรุง
การบริหารจัดการงบประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                      2.1.4 บริหารทั่วไป บริหารอาคารสถานที่และจัดการแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการเป็นอยู่อย่างพอเพียง
           2.2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
                หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนปรางค์กู่ จัดหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระและทุกระดับชั้น ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกหรือบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
อย่างมีประสิทธิภาพ จัดหาสื่อ ผลิตและใช้สื่อการเรียนรู้ พัฒนาแหล่งเรียนรู้และฐานการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน มีการนิเทศติดตาม และประเมินผลการนำหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน แล้วศึกษาวิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากนี้มีการเผยแพร่สื่อการเรียน แหล่งเรียนรู้ ฐานการเรียนรู้ และผลงานที่ได้จากการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติกรรมกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน นักเรียนสามารถถอดบทเรียนจากกิจกรรมที่ทำได้ตามหลัก
3 ห่วง 2 เงื่อนไข
            พอประมาณ : ความสมดุล เหมาะสม
  มีเหตุมีผล :  ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล / ตามความจำเป็น / คำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า   
                   เกิดประโยชน์สุข
   มีภูมิคุ้มกัน : รู้จักออม /แบ่งปันผู้อื่น / ช่วยเหลือสังคม / ทำบุญ
   มีความรู้คู่คุณธรรม

          2.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
               โรงเรียนจัดกิจกรรมผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อยู่อย่างพอเพียง จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถ แก้ปัญหา/พัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมชุมนุม และกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะของผู้เรียน ให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม หลักคำสอนของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ
มีการติดตาม ประเมินผล และนำผลการติดตามไปพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมให้เกิดประโยชน์
สูงสุดต่อผู้เรียน โรงเรียน และขยายผลกิจกรรมสู่ชุมชน

          2.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
               โรงเรียนมีแผนงาน / โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ  และตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดประชุม อบรมและศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการมประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ มีการติดตาม ประเมินผล นำผลการติดตามไปปรับปรุง พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาอย่าง
แท้จริง และขยายผลสู่ชุมชน
โดยกิจกรรมตามโครงการสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้
1)       ประชุม ชี้แจง รับนโยบายการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่
สถานศึกษา เพื่อพัฒนาเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        2) อบรมคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่อง “การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยวิทยากรแกนนำขับเคลื่อนสถานศึกษา
พอเพียงจากโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
        3) ศึกษาดูงานสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์
      4) กิจกรรมค่ายคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      5) โครงการเก่งและดี ชีวิสุขสันต์ สร้างสรรค์ความเป็นไทย
      6) กิจกรรมเสริมสร้างวินัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                 7) กิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
      8) กิจกรรมค่ายพี่พบน้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      9) กิจกรรมธนาคารโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      10) กิจกรรมเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      11) กิจกรรมฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง1 ไร่สานฝัน”
      12) กิจกรรมครอบครัวตัวอย่าง “วิถีพอเพียง
      13) โครงการตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง

       3. ประเมินผล (Check)
       มีการตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น
จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด โดยการสัมภาษณ์ สังเกตพฤติกรรมนักเรียนและ
ใช้แบบสอบถาม
            4. นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงกิจกรรมในโครงการครั้งต่อไป (Action)
             มีการปรับปรุงแก้ไขในกิจกรรมหรือส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็นำแนวทาง
การปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป

    แนวทางการตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนา
           2.4.1 ผู้ตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาจะต้องทำความเข้าใจสถานศึกษาอย่างลึกซึ้ง และมีเจตคติที่ดีต่อสถานศึกษาเพื่อช่วยสะท้อนภาพความจริงที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา แสวงหาจุดเด่น จุดแข็ง และสกัดจุดด้อย และจุดที่ควรปรับปรุง
          2.4.2 กำหนดประเด็นและออกแบบการตรวจสอบและประเมินคุณภาพให้ชัดเจนและสอดคล้องกับเอกลักษณ์ และทิศทางในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
          2.4.3 ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาโดยเข้าถึงความจริงจากสภาพที่เป็นจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายทั้งแบบประเมิน แบบสำรวจ แบบสอบถาม การสังเกตจากสภาพจริง
การสัมภาษณ์ในเชิงปริมาณและคุณภาพ

          2.4.4 การรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาตามสภาพความจริง
พร้อมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา เพื่อให้สถานศึกษาเข้าถึงความจริงและเกิดพลังในการพัฒนาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น