ผลงานเชิงประจักษ์ : สถานศึกษาพอเพียง

 สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
         กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการจัดการด้านศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชน
และประชาชนคนไทยให้มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองเมืองไทยและพลเมืองโลก จากวิกฤตปัญหาของชาติทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลได้น้อมนำหลักปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพัฒนาประเทศ โดยกำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 76 และมาตรา 83 (1) และกำหนดเป็นกลยุทธ์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9, 10 และอยู่ในยกร่างฉบับที่ 11 ด้วย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา มีขอบข่ายการขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา

4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ข้อที่ 5 ในจำนวน 8 ข้อ คือ “อยู่อย่างพอเพียง”
       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ รับผิดชอบในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสถานศึกษาในสังกัดกระจายทั่วประเทศ ตระหนักเห็นความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด ปลูกฝังการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้กำหนดเป็นจุดเน้นที่สำคัญ โดยกำหนดในกลยุทธ์ที่ 2 ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานและ ถานศึกษาในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา ซึ่งมีระบบการกำกับติดตามการดำเนินงานระบุชัดเจนในคำรับรองการปฏิบัติราชการ อีกทั้งนวัตกรรมการจัดการศึกษา แนวทางการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนมาตรฐานสากลได้กำหนดในสาระการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล สาระการเรียนรู้โลกศึกษา คือ เรียนรู้ถิ่นฐาน สืบสานวิถีไทย มองไกลศึกษาโลก สืบโชคชะตามนุษย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการประยุกต์หลักคิดจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนทั้งสิ้น ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ นโยบายในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 (พ.ศ.2552–2561) การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ.2552–2561) เป็นการปฏิรูปใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ดังนั้นโรงเรียนเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงจำเป็นยิ่ง
ที่ต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาดังกล่าว ด้วยตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้จากการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนานักเรียนในโรงเรียน เพื่อการขยายความรู้ และการปฏิบัติสู่ผู้ปกครองและชุมชน ท้องถิ่นต่อไป
โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า จัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนสหศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นโรงเรียนที่อยู่ติดเขตจังหวัดสุรินทร์ นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนจึงมีทั้งนักเรียนในจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ ซึ่งนักเรียนมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องสภาพความเป็นอยู่ ภาษาถิ่น วิถีชีวิตและขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม ประกอบกับบุคลากรครูในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นครูผู้ช่วยทำให้การบริหารงานในโรงเรียนมีความยากลำบาก ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่อันจะส่งผลต่อการพัฒนาโรงเรียน คุณภาพนักเรียนและชุมชน โดยสภาพปัญหาที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหา
ประกอบด้วยปัญหา 4 ด้าน ดังนี้
         1. ด้านการบริหารจัดการของโรงเรียน
             1) โรงเรียนยังได้มีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเป็นนโยบาย
ในการบริหารจัดการในสถานศึกษา
             2) ไม่มีการมอบหมายให้คณะครูได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
             3) ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
         2. ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรสถานศึกษาสู่กิจกรรมเรียนการสอน
             1) การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการประยุกต์ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
             2) ครูขาดการวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อจัดทำหน่วยการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้
             3) แผนการเรียนรู้ของครูไม่สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในกระบวนการเรียนรู้ และการบูรณาการจัดการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยังไม่ครบทั้ง 8 สาระการเรียนรู้   
             4) ครูไม่ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ที่เสริมสร้าง การพัฒนาคุณลักษณะ
อยู่อย่างพอเพียงให้แก่นักเรียน
         3. พฤติกรรมการปฏิบัติตนของนักเรียน
            จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ร่องรอย เอกสารและการบันทึกที่เกี่ยวกับผลการแสดงพฤติกรรมของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนในทุกระดับชั้นขาดพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียง ดังนี้
              1) นักเรียนร้อยละ 40 ใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือยเกินฐานะของตนเอง เกิดกระแสของการบริโภคนิยม ไม่รู้จักการวางแผนในการเก็บออม ไม่ทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายประจำวัน นักเรียนร้อยละ 60 ไม่ห่อข้าวมารับประทานที่โรงเรียน ไม่รู้จักเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
             2) พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียน ที่ไม่เหมาะสมทั้งเวลาและสถานที่
             3) นักเรียนไม่ช่วยกันเก็บขยะ ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งของที่ใช้แล้ว
             4) ขาดจิตอาสาและเอื้ออาทรต่อกัน ไม่มีสัมมาคารวะ พูดจาไม่สุภาพ
             5) นักเรียนไม่เห็นคุณค่าและไม่ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในห้องเรียน โรงเรียน และชุมชน
       4. ด้านอาคารสถานที่และการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
            1) ไม่มีแปลงไม้ดอกไม้ประดับ สวนหย่อมให้นักเรียนนั่งพักผ่อนยามว่าง                          
            2) รั้วโรงเรียนมีเฉพาะด้านหน้า ด้านหลังบริเวณโรงเรียนไม้เป็นเสาปัก เขตแดนไม่สามารถควบคุมบุคคลภายนอกเดินเข้าออกได้
           3) ไม่มีแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ที่เสริมสร้างการพัฒนาคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
              จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานักเรียนที่จะเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และประเทศชาติภายใต้โลกาภิวัตน์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ข้าพเจ้าจะต้องสร้างความร่วมมือระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ร่วมกันพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโดยวางแผนกำหนดนโยบายลงสู่แผนปฏิบัติการ จัดกิจกรรมอันจะปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน  เพื่อให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัตน์ แนวทางในการแก้ไขปัญหาข้างต้นคือ การพัฒนาค่านิยมการพึ่งตนเอง ค่านิยมความขยันหมั่นเพียร และค่านิยมความรับผิดชอบของนักเรียน ให้หันมาใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักมีวินัยในการใช้จ่าย ประหยัด รู้จักการออม โดยไม่ฟุ้งเฟ้อหรือมีความต้องการเกินตัวหรือเกินพอดี ช่วยเหลือสังคม รักษาสมดุลของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบสานวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรกความคิดและคุณค่าของวิถีพอเพียงและการอยู่ในสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนอยู่ได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ
ที่เรียกว่า “อยู่อย่างพอเพียง”  ด้วยหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตที่พบความสุขที่มั่นคงและยั่งยืน 

      แนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
 ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบให้มีคุณภาพ จึงได้ศึกษาและวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับส่งเสริมให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ พันธกิจ กรอบแนวทางการพัฒนา กำหนดเป้าหมายและร่วมวางแผนปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยอาศัยปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบในการบริหาร เช่น คน ทรัพยากร การจัดการ และเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้ยังใช้ศาสตร์และศิลป์ตามแนวพระราชดำริ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทั้งแนวคิด ทฤษฎี รูปแบบการฝึกอบรมสัมมนา โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานักเรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสุข มีจิตสาธารณะ นอกจากนี้ยังดำเนินการแก้ไขปัญหาของโรงเรียน พัฒนาอาคารสถานที่ ภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียน ห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ที่มีศักยภาพของนักเรียน การบริหารจัดการที่มีระบบตามวงจร PDCA และการบริหารแบบมีส่วนร่วม ส่งผลให้สามารถพัฒนานักเรียน พัฒนาชุมชน สู่ความพอเพียงจนประสบความสำเร็จทำให้โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยที่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ศึกษาแนวคิดจากเอกสาร งานวิจัย และรวบรวมองค์ความรู้จากการเข้าอบรมเกี่ยวกับการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ตามลำดับดังนี้
1. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความพอประมาณ โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ 
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
   1) กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และการมองโลกเชิงระบบการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
             2) คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ 
โดยเน้นการปฏิบัติตนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
             3) คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
                     3.1) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
                     3.2) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความเพียงพอนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
                     3.3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
               4)  เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ดังนี้
                    4.1) เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
                    4.2) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 
               5) แนวการปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
  
                                       ตัวอย่าง  การใช้จ่ายอย่างพอเพียง

พอประมาณ รายจ่ายสมดุลกับรายรับ / ไม่ก่อหนี้สินล้นพ้นตัว / ไม่ใช้สิ่งของเกินฐานะ
มีเหตุมีผล :     ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล / ตามความจำเป็น / คำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า 
                    เกิดประโยชน์สุข
มีภูมิคุ้มกัน :    รู้จักออม / แบ่งปันผู้อื่น / ช่วยเหลือสังคม / ทำบุญ
ความรู้คู่คุณธรรม ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความซื่อสัตย์ ตั้งมั่น ขยันหมั่นเพียร
                          ไม่ประมาท ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจและดำเนินการต่าง ๆ
                          อย่างรอบรู้ รอบคอบ เพื่อให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง
 
 





                     
                      ลักษณะของกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง : ความรู้คู่คุณธรรม

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันที่ดี
- พอเหมาะกับสภาพของตน
  (ปัจจัยภายใน)
- พอควรกับภูมิสังคม
  (ปัจจัยภายนอก)

(สมดุล)
-รู้สาเหตุ-ทำไม
-รู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง : วิชาการ/
 กฎหมาย/ความเชื่อ/ประเพณี
-รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้าน
 ต่าง ๆ
(รอบรู้ / สติปัญญา)
- คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
- รู้เท่าทันและเตรียมความพร้อม (วางแผน/รอบคอบ/เรียนรู้/พัฒนาตน/ทำประโยชน์ให้กับสังคม/รักษ์สิ่งแวดล้อม
(ไม่ประมาท)
         
      
   2. เศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา
            
         3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
              สถานศึกษาควรมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และปลูกฝังเสริมสร้างให้ผู้เรียน มีคุณลักษณะดังนี้ 
   1) มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
              2) มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
              3) ปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา
   สถานศึกษาควรจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ปลูกฝัง หล่อหลอมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเอื้อต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
              1) จัดอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เน้นความร่มรื่น ประโยชน์ใช้สอย เป็นแหล่งเรียนรู้ และอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมของท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย
              2) กำหนดระเบียบ ธรรมเนียมปฏิบัติในสถานศึกษา ที่ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย เคารพธรรมเนียมปฏิบัติ กฎกติกาของสังคมส่วนรวม
               3) ส่งเสริมและพัฒนาบรรยากาศด้านคุณธรรม เช่น การทำบุญ การบริจาค การปฏิบัติ กิจการศาสนา การฝึกอบรมจิต การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา การยกย่องส่งเสริมผู้กระทำความดี การส่งเสริมการแบ่งปัน การช่วยเหลือกันและกัน ฯลฯ
               4) ส่งเสริมการแสวงหาความรู้ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดการประกวดในรูปแบบต่าง การหาความรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีและอื่น ๆ
               5) ส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของผู้บริหาร ครู และบุคลากรในสถานศึกษา
               6) จัดโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติตนและการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง

          ข้าพเจ้าได้กรอบแนวคิดการจัดทำโครงการที่มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยการจัดทำกิจกรรม 4 ด้าน คือ การบริหารจัดการ การเรียนการสอน  แหล่งเรียนรู้ และการจัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียน ผลของการศึกษาการดำเนินการตามโครงการเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความรู้ ทักษะ ปฏิบัติตน และดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม  

วิธีดำเนินการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
          จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาสภาพปัญหา  และสภาพบริบทของโรงเรียน  และได้ศึกษาหลักการแนวคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ  การบริหารงบประมาณ  การพัฒนาครูให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้  การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการนำหลักปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการปฏิบัติตนของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการดังนี้

            1. ด้านการบริหารจัดการ  ดำเนินการดังนี้
                 1. กำหนดนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา  และบูรณาการในแผนปฏิบัติการประจำปี
                 2. ประชุมชี้แจ้งการนำนโยบายเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการประจำปีให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษาทราบ
                 3. จัดทำแผนงานโครงการการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
                 4. มอบหมายให้ครูได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบและดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในโรงเรียน
                  5. รายงานผลการดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
                  6. นำปัญหาและข้อเสนอแนะที่ได้จากการรายงานผลมาปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงาน
ตามโครงการ/กิจกรรม ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
         2. ด้านการบริหารงบประมาณ ดำเนินการดังนี้
                 1. จัดทำแผนบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของคณะครู
                 2. จัดทำแผนงาน / โครงการ /กิจกรรม โดยคำนึงการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และผลที่จะเกิดขึ้นในระยะ
                 3. เสนอแผนงานโครงการ/กิจกรรม เพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ
                 4. แต่งตั้งครูทำหน้าที่ควบคุมการบริหารงบประมาณ  การจัดทำบัญชีควบคุมการเบิกจ่ายตามแผนงานโครงการ / กิจกรรมที่ได้รับอนุมัติ
                 5. ผู้บริหาร หรือครูที่ได้รับหมอบหมาย นิเทศ กำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ / กิจกรรม
          3. ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการดังนี้
                1. ส่งครูเข้ารับการอบรม สัมมนา เกี่ยวกับเรื่องการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สู่สถานศึกษา และการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               2. ครูทุกคนทักทายกันในตอนเช้าโดยการไหว้แต่งกายมาปฏิบัติงานให้เป็นระเบียบและเป็นแนวเดียวกัน
                3. จัดกิจกรรมโครงการงดเหล้าวันเข้าพรรษา นำคณะครูร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา
           4. การพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ดำเนินการดังนี้
                1. เชิญศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 และวิทยากรขับเคลื่อน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ มาให้ความรู้แก่บุคลากรครูเกี่ยวกับการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การถอดบทเรียน
    2. ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
                 3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกขั้นตอน                          
                 4. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกทักษะ กระบวนการคิด วิเคราะห์ การเผชิญสถานการณ์ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และเชื่อมโยงสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และสังคมโลก
                  5. การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการทดลอง การปฏิบัติจริงทั้งในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ทั้งในรูปของการจัดทำโครงการ โครงงาน และอื่น ๆ ทั้งการศึกษารายบุคคล และเป็นกลุ่ม
                  6. เชิญปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมเป็นวิทยากรช่วยสอน ถ่ายทอดความรู้          สู่เยาวชน เช่น พระครูพิพิธสังฆการ เจ้าคณะอำเภอปรางค์กู่ ให้ความรู้ เรื่อง ธรรมะในการดำรงชีวิต        ร้อยตำรวจตรีวิชัย สุริยุทธ ให้ความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ นายอนันต์ แม้นพยัคฆ์ ให้ความรู้เรื่อง การดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
                  7. นำนักเรียนไปศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 
           5. การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ดำเนินการดังนี้
                1. ในห้องเรียนมีรูปสัญลักษณ์ของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
                2. ในห้องเรียนมีนิยามของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เขื่อนไข
                3. ห้องเรียนมีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทได้สะดวก สะอาดและจัดสิ่งของเป็นระเรียบ 
มีมุมประสบการณ์/มุมหนังสือให้นักเรียนได้สืบค้นหาความรู้เพิ่มเติม  มีข้อตกลงการใช้ห้องเรียนที่เกิดจากการระดมความคิดของนักเรียน มีป้ายนิเทศแสดงแสดงผลงานของนักเรียน และป้ายสถิติการเรียนของนักเรียน
           6. การปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ดำเนินการดังนี้
                1. ขอความอนุเคราะห์ผู้ปกครองนักเรียน ศิษย์เก่าที่ไปประกอบอาชีพที่กรุงเทพมหานคร
และต่างจังหวัด และวัด จัดทำผ้าป่าข้าวเปลือก ผ้าป่าพัฒนาเพื่อการศึกษาของโรงเรียน ในช่วงเทศกาล
                2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สนับสนุนเครื่องจักรกลและเจ้าหน้าที่ในการปรับปรุง
ภูมิทัศน์และสนามกีฬาของโรงเรียน
               3. องค์การบริหารส่วนตำบลกู่ ให้การสนับสนุน                   
               4. นำเงินที่ได้จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวเสนอที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อให้ความเห็นและดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ ปรับปรุงห้องส้วม สร้างรั้วด้านหลังบริเวณโรงเรียน ปรับที่ถมดินเพื่อจัดทำแปลงเกษตรเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
           7.  การประพฤติปฏิบัติตนของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนได้นำหลักปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย
                 7.1 หลักปฏิบัติด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ เป้าหมาย คือ ปลูกฝังให้นักเรียน และเยาวชน รู้จักใช้วัตถุ/สิ่งของ/ทรัพยากร อย่างพอเพียง
                7.2 หลักปฏิบัติด้านสังคม เป้าหมาย คือ ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ /แบ่งปัน/ไม่เบียดเบียน
      7.3 หลักปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย คือ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม
                7.4 หลักปฏิบัติด้านวัฒนธรรม ศาสนา และพระมหากษัตริย์  เป้าหมาย คือสร้างความภูมิใจ/เห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ ความเป็นไทย

        โครงการและกิจกรรมที่ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
ร่วมกันดำเนินงาน ประกอบด้วย
               1) กิจกรรมรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ยืนหยัดสถาบัน เสริมสร้างความเป็นผู้นำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               2) กิจกรรมเสริมสร้างวินัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               3) กิจกรรมฐานลานบุญลานบ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               4) กิจกรรมอิ่มบุญ อุ่นรักตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               5) กิจกรรมจิตอาสาส่งเสริมคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               6) กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ลดโลกร้อนด้วยวิถีพอเพียง
               7) กิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้
               8) กิจกรรมพี่สอนน้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               9) กิจกรรมฐานอุทยานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาโรงเรียน
               10) กิจกรรมธนาคารโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               11) กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์และอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
               12) กิจกรรมเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
ผลที่เกิดขึ้นจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้
          จากการที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาโรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ทำให้โรงเรียนมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ผู้บริหารมีรูปแบบแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบพอเพียง ครูมีการปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น สภาพแวดล้อมในโรงเรียนสะอาด ร่มรื่น เหมาะสมกับการเรียนรู้ มีแหล่งเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันกันที่ดี มีความรอบรู้ รอบคอบ  ระมัดระวัง มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ประหยัด ขยันอดทน เอื้ออาทร และรู้จักแบ่งปัน เป็นที่พึงพอใจของผู้ปกครอง ชุมชน และผู้บังคับบัญชา ผลที่เกิดขึ้นจากการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ มีผลดีดังนี้
   1) โรงเรียนมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการที่โรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน  คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ได้รับรู้ทิศทางและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียน ได้แก่ วัฒนธรรมด้านการประหยัดไฟฟ้า น้ำ ซึ่งครู นักเรียนในโรงเรียนถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันทั้งโรงเรียน รวมทั้งการปลูกฝังให้เป็นวิถีชีวิต ทุกคนฝึกความประหยัดเห็นไฟเปิด น้ำเปิด ก็จะช่วยกันปิดโดยไม่ต้องเตือน
             2) ผลที่เกิดด้านการบริหารงบประมาณ ทำให้คณะครูมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงบประมาณ แผนบริหารจัดการ มีการอนุมัติงบประมาณดำเนินการตามแผนงานโครงการ/กิจกรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ และเกิดความคุ้มค่า มีการควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ และสามารถตรวจสอบได้  เมื่อสิ้นปีการศึกษาสรุปผลการดำเนินการตามแผนงานโครงการ/กิจกรรม และจัดนิทรรศการแสดงผลงานของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา
              3) ผลที่เกิดกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้ง     ในการปฏิบัติงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน คณะครูมีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ เอื้ออาทรต่อกัน ให้เกียรติซึ่งและกัน มีความเสียสละ รู้จักทำงานเป็นทีม และอุทิศเวลาให้ทางราชการมากยิ่งขึ้น  
               4) ผลที่เกิดด้านการนำหลักสูตรไปใช้ ทำให้โรงเรียนมีหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงครบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การนำนักเรียนไปศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเชิญปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เรียน มีการจัดบรรยากาศในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ และการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  
                5) ผลที่เกิดด้านอาคารสถานที่ และแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนได้ขอความอนุเคราะห์  คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ร่วมปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน
ป้ายชื่อโรงเรียน หอประชุม ปรับภูมิทัศน์ในโรงเรียนให้สวยงาม มีแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น จัดทำแปลงเกษตรเพื่อปลูกพืชพักสวนครัว ทำโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โรงเรือนเพาะเห็ด แปลงไม้ดอกไม้ประดับ สวนหย่อมที่สวยงามเป็นที่พักผ่อนของนักเรียนและชุมชน
                6) ผลที่เกิดกับนักเรียน: ด้านพฤติกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านความพอประมาณ เช่น นักเรียนห่อข้าวมารับประทานที่โรงเรียน เก็บฝากเงินออมไว้กับครูที่ปรึกษานักเรียนใช้จ่ายอย่างประหยัด เห็นคุณค่าของเงิน ความมีเหตุผล เช่น นักเรียนมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก ให้เกียรติคนอื่น ยอมรับฟังเสียงข้างมาก ทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข มีความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี เลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และออกกำลังกายหลังเลิกเรียน มีภูมิคุ้มกันที่ดี นักเรียนแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน ช่วยกันทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนตามเขตรับที่ได้รับผิดชอบ เช่น ห้องน้ำห้องส้วม แปลงไม้ดอกไม้ประดับ แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ห้องเรียน และสนามหญ้า ปฏิบัติการตามกฎระเบียบของทางโรงเรียน  และชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าในชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียน เงื่อนไขความรู้ นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจสามารถพัฒนางาน     การเรียนรู้จองตนเองได้ดีขึ้น เงื่อนไขคุณธรรม นักเรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
               จากผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่เป็นระบบ การประสานความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ส่งผลให้โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหาร
จัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีการศึกษา 2550 จากกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับรางวัลโรงเรียนต้นแบบสถานศึกษา จัดกิจกรรมลดโลกร้อนด้วยวิถีพอเพียง จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
ร่วมกับ EGCO GROUP ทำให้โรงเรียนได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานต่าง ๆ มาศึกษาดูงานฐานการเรียน
รู้เศรษฐกิจพอเพียง

แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
          ผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวางพื้นฐานที่ดีในการดำรงชีวิต
ที่มั่นคง ยั่งยืนตามวิถีพอเพียง เมื่อข้าพเจ้าย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัด
ศรีสะเกษ ข้าพเจ้ามีแนวคิดในการพัฒนาโรงเรียนปรางค์กู่ ดังนี้
          1. ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ที่ได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง”
          2. บริหารจัดการให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้และฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างหลากหลาย และขยายผลสู่ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อการพัฒนาสังคม ท้องถิ่นให้ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น