ผลงานเชิงประจักษ์ : คุรุสดุดี

รางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี”
สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จที่เป็นประจักษ์
          โรงเรียนเป็นระบบสังคมระบบหนึ่ง ซึ่งหากเพียงแต่จะมีสถานที่สวยงาม มีหลักสูตรสถานศึกษาที่สมบูรณ์แบบ มีสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สิ่งเหล่านี้จะไม่มีความหมายใด ๆ เลยหากบุคลากรทางการศึกษาไม่มีความสามารถที่จะใช้ หรือไม่มีความพึงพอใจ ขาดความตระหนักในหน้าที่ที่จะทำงานให้เกิดประโยชน์ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนความงอกงามในสงการศึกษาที่ขึ้นอยู่กับบุคลากรที่ทำงานด้านการศึกษาซึ่งมีหลายฝ่าย หลายหน้าที่ แต่ที่สำคัญที่สุดมี 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายครูผู้สอน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาไปสู่ความก้าวหน้า ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ตอบสนองความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน สังคมจึงให้ความคาดหวังกับครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างมาก ว่าจะเป็นผู้ชี้นำทางปัญญาเป็นผู้นำพาสังคมไปสู่ความเจริญตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542 มาตรา 6 ที่กำหนดให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาพัฒนาคุณภาพคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  และ มาตรา 23 ที่ว่าโดยการจัดการศึกษานั้นต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2544)  ดังนั้นทั้งผู้บริหารและครูจึงจะต้องแสดงบทบาทและพฤติกรรมให้เป็นไปตามที่สังคมคาดหวัง
          ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ได้เข้ารับการอบรม การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนางานในหน้าที่ให้เต็มขีดความสามารถ มีความรักความศรัทธาในอาชีพ ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความตั้งใจนับแต่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการ พยายามทบทวนบทบาทหน้าที่ของตนเองเทียบเคียงกับแบบแผนในการปฏิบัติตนตามหลักธรรมาภิบาล ประคองตนเองให้ดำรงตนอยู่ในกรอบคุณธรรม จริยธรรมและวินัยข้าราชการ จากการที่บรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้สอนจนก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการสถานศึกษา บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน การวางแผนการปฏิบัติงาน การควบคุม กำกับ ดูแลเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานของโรงเรียนเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ของโรงเรียน ซึ่งได้กำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนปรางค์กู่ไว้ ดังนี้
          วิสัยทัศน์ของโรงเรียน (VISION)
          โรงเรียนปรางค์กู่ มุ่งสู่มาตรฐานสากล ทุกคนมีส่วนร่วม ศูนย์รวมภาษา พัฒนาสู่อาเซียน ผู้เรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          พันธกิจ (MISSION)
         1. ส่งเสริมการนำระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
         2. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้มุ่งสู่อาเซียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
         3. ส่งเสริมการนำสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
         4. ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และอาชีพ
         5. ส่งเสริมผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการอนุรักษ์ความเป็นไทยและวิถีพุทธ
         6. ส่งเสริมการนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา
         7. ส่งเสริมให้บุคลากร ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
         8. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในทุก ๆ ด้าน อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
         9. พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้
         10. ส่งเสริมการนำภาษาสากลมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล
         11. บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
         เป้าประสงค์ (GOALS)   
         1. โรงเรียนปรางค์กู่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ มีบรรยากาศและวัฒนธรรมในการปฏิบัติงานแบบกัลยาณมิตร ร่วมสร้างสรรค์และรับผิดชอบ นำระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมถึงการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
         2. นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ มีความรู้สู่อาเซียน
         3. นักเรียนมีความสามารถด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา อาชีพ และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนรู้
         4. นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
         5. นักเรียนมีความสามารถทางภาษาสากลและนำภาษาสากลมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล
         กลยุทธ์ของโรงเรียน
         1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
         2. ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
         3. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำ ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
         4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
         5. พัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา    
         นอกจากแนวนโยบายและทิศทางการพัฒนาโรงเรียนที่โรงเรียนร่วมกับชุมชนได้ร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาโรงเรียนแล้ว ยังมีภารกิจที่โรงเรียนจะต้องสนองนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ที่มอบหมายให้โรงเรียนในสังกัดถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดการสอดรับกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจังหวัดศรีสะเกษ  อันได้แก่ การเป็นโรงเรียนที่ปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ นักเรียนลายมือสวย การปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ความสมานฉันท์  สันติวิธี  วิถีประชาธิปไตย   การขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชากรวัยเรียนอย่างกว้างขวางและอย่างทั่วถึง  การพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ กระจายอำนาจ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน ภาคเอกชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
         จากนโยบายที่ได้กล่าวสรุปรวมมาทั้งหมดนี้ หากจะบริหารจัดการ และขับเคลื่อนให้แนวนโยบายประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ  มีทีมงานที่เข้มแข็ง ทุกฝ่ายตระหนักในหน้าที่ของตนเอง มุ่งมั่นในการทำงานอย่างเต็มกำลัง
ในขณะเดียวกันในการปฏิบัติหน้าที่บริหารจัดการสถานศึกษา บังคับบัญชาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา มักจะได้รับทราบข่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นข่าวในสื่อมวลชนอยู่เนือง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาด้านการประพฤติปฏิบัติตนในการรักษาวินัยของข้าราชการ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นส่วนน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณของข้าราชการครูที่มีอยู่ทั่วประเทศ แต่ข่าวสารที่ปรากฏย่อมส่งผลถึงเกียรติภูมิและชื่อเสียงของวงวิชาชีพครูอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งประกอบกับสภาพสังคมที่คุณธรรม จริยธรรมและการรักษาวินัยมีความย่อหย่อน  ปัญหาเศรษฐกิจ ความเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งทางความคิด ฯลฯ ล้วนมีอิทธิพลส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการครูและบุคลากร ทั้งในด้านการประพฤติตน การปฏิบัติหน้าที่การงานที่ต้องมีอุปสรรค ปัญหาและสภาวะแวดล้อมของการจัดการศึกษา กระทบถึงผู้เรียนและชุมชนอันเป็นผลผลิตของการจัดการศึกษา  เป็นที่มาของคำถามที่ว่า จะทำอย่างไรให้ครูและบุคลากรปฏิบัติงานตามภารกิจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนจนเกิดความสำเร็จด้วยความพึงพอใจ
โรงเรียนถือเป็นองค์กรหนึ่ง การดำเนินงานให้ลุล่วงไปได้ จะต้องอาศัยพลังความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งและร่วมแรงร่วมใจของบุคลากรทุกคนในองค์กร  นั่นหมายถึง โรงเรียนมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี  มีรูปแบบการทำงานและค่านิยม ที่เน้นความมุ่งมั่น ร่วมมือ ร่วมใจกัน การทำงานเป็นทีม การมุ่งเน้นความมีคุณภาพ มาตรฐาน  วัฒนธรรมองค์กรเช่นนี้ ย่อมทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น โรงเรียนประสบความสำเร็จก้าวหน้านำมาซึ่งความเชื่อถือ ศรัทธาและความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชนโดยรวม  ซึ่งรูปแบบการทำงานและค่านิยมอาจกำหนดได้หลายลักษณะ  ในส่วนของข้าราชการครูจะมีมาตรฐานการปฏิบัติตน  คือ จรรยาบรรณของวิชาชีพ ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548  ที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคมอันจะนำมาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
           จากสภาพปัญหา ความต้องการผนวกกับแนวคิดเพื่อการบรรลุผลของงาน เป็นแรงจูงใจให้นำจรรยาบรรณของวิชาชีพ ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 มาเป็นกรอบในการปฏิบัติ พัฒนาตนเองและบุคลากรในโรงเรียนโดยมีความเชื่อมั่นในความเป็นไปได้ของการนำไปปฏิบัติ เพราะ จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิด จะมีการลงโทษ  จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีลักษณะ 4 ประการที่ครอบคลุมส่งผลต่อผู้เกี่ยวข้อง คือ
              1. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the student)
              2. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the society)
              3. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the profession)
              4. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน (Commitment to the employment practice)
              และยังเป็นประโยชน์ต่อครูและบุคลากรที่ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ  บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า จรรยาบรรณวิชาชีพครูมีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพอื่นที่มีความสำคัญต่อวิชาชีพนั้น ๆ ซึ่งคุณประโยชน์ในการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ  สรุปได้ 3 ประการ คือ
         1. การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นการปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
         2. การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นการรักษามาตรฐานวิชาชีพ
         3. การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นการพัฒนาวิชาชีพ
         แรงจูงใจที่สำคัญอีกประการหนึ่งของข้าพเจ้าก็คือ ความต้องการในการสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูที่ดีให้เกิดแก่ครูและบุคลากร ด้วยการใช้ภาวะผู้นำในการเป็นแบบอย่างที่ดี  โดยยึดหลักที่ว่า การเป็นแบบอย่างที่ดีจะเป็นเครื่องชักนำให้ผู้อื่นทำตาม การที่ผู้บังคับบัญชาจะนำให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย      ตัวผู้บังคับบัญชาเองจะต้องทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีเสียก่อน  รวมถึงการสร้างศรัทธา ซึ่งความศรัทธาจะนำมาซึ่งขวัญ กำลังใจ มีความรัก ความร่วมมือร่วมใจ หากผู้ใต้บังคับบัญชามีความศรัทธาต่อผู้บังคับบัญชา ต่องานที่ทำ ต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน เขาก็จะทำงานอย่างมีความตั้งใจ มีความรับผิดชอบ ร่วมมือประสานงานและปฏิบัติตามคำสั่งด้วยความเต็มใจ(สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา, 2541)
         สำนักงานคุรุสภา ผู้กำหนดข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 มีบทบาทในการควบคุม สอดส่องจรรยามรรยาทและวินัยของสมาชิกคุรุสภา รวมทั้งสรรหาครูที่มีจรรยามรรยาทดีเด่น เพื่อรับ “เข็มคุรุสดุดี” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 จนถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อ
         1. ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
         2. เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและความเชื่อถือในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
         3. เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” เป็นแบบอย่างที่ดีแก่          ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา(สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2555)
         จึงเป็นแรงจูงใจที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้ผู้รับการยกย่องเชิดชูเชิดชูเกียรตินี้มีภาวะผู้นำด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี งานมีประสิทธิภาพ สร้างศรัทธาให้แก่ครู บุคลากร ผู้ร่วมงาน ชุมชนและสังคมโดยทั่วไปได้

วิธีดำเนินการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
          วิธีการในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นผู้ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นที่ประจักษ์ชัด นั้น ข้าพเจ้าดำเนินการโดยมีกระบวนการ ขั้นตอนที่สำคัญ และการดำเนินการดังต่อไปนี้
          การทบทวนการปฏิบัติของตนเอง
ข้าพเจ้าหมั่นสำรวจ ตรวจสอบพฤติกรรมในการปฏิบัติตน  การปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ที่ตนเองดูแล รับผิดชอบอยู่เสมอ ในการประพฤติปฏิบัติตนก่อนหน้านี้ได้ใช้กรอบจรรยาบรรณครู พ.ศ.2539 เป็นแนวปฏิบัติและตรวจสอบ  ได้ใช้จรรยาบรรณครูนี้เป็นกรอบในการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของตนเองและข้าราชการครูในโรงเรียนปรางค์กู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการคุรุสภาออกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พุทธศักราช 2548 ได้ทบทวนประเด็นเนื้อหาของจรรยาบรรณ ที่แตกต่างไปจากเดิมเพื่อปรับแนวปฏิบัติและพฤติกรรมในการปฏิบัติตน การปฏิบัติงาน ให้มีความสอดคล้องตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ จากการทบทวนการปฏิบัติของตนเอง มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติตน ดังนี้
1. จากการรายงานผลการปฏิบัติงานทำให้ทราบถึงลักษณะ ความครอบคลุมในการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงาน ว่ามีความสอดคล้อง เป็นไปตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ หรือไม่
2. จากการทบทวนพฤติกรรมของตนเอง ที่สะท้อนโดยครูและบุคลากรด้วยการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมในการปฏิบัติตนของผู้บริหาร ทำให้ทราบถึงคุณภาพและความพึงพอใจในการปฏิบัติตนของผู้บริหาร
3. จากการทบทวนประเด็นเนื้อหาของจรรยาบรรณของวิชาชีพ พุทธศักราช 2548 ทำให้รับทราบถึงการเปลี่ยนแปลง การปรับปรุงรายละเอียดของเนื้อหาจรรยาบรรณอันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปฏิบัติตนให้ดำรงอยู่ในจรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างมั่นคงต่อไป
          4. จากการทบทวนดังกล่าว นำไปสู่การกำหนดทิศทางในการพัฒนาตนเองและบุคลากรอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ สร้างความศรัทธาและพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างชัดเจน
การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง
          จากการทำความเข้าใจในเรื่องการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ข้าพเจ้าตระหนักอยู่เสมอว่า จรรยาบรรณมีประกาศิตบังคับในระดับ “พึง” คือ พึงทำอย่างนั้น พึงปฏิบัติอย่างนี้ ซึ่งมีระบบการควบคุมลงโทษ แต่ไม่เคร่งครัดหรือเข้มงวดมากนัก เน้นที่การสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายวิชาชีพ จึงมีจุดมุ่งหมาย “เพื่อคนและงาน” โดยหวัง “ศักดิ์ศรี” ของผู้ประกอบวิชาชีพ และ “ประสิทธิภาพของงาน” (สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา, 2541) และจากการทบทวนการปฏิบัติ ของตนเองสะท้อนให้เห็นภาพของการปฏิบัติว่า ยังมีส่วนใดที่บกพร่อง ต้องปรับปรุง ส่วนใดบ้างที่มีความเหมาะสม ควรได้รับการพัฒนา และนำมากำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาตนเองเพื่อดำรงไว้ซึ่ง“ศักดิ์ศรี” ของความเป็นครู และเพื่อ“ประสิทธิภาพของงาน”  ดังนี้
1. เพื่อดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นครูด้วยการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
          2. เพื่อให้งานในความรับผิดชอบสามารถดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ
          3. เพื่อให้แบบแผนและผลของการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นที่ยอมรับ ได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีได้
การดำเนินการพัฒนาตนเอง
ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นผู้ที่ปฏิบัติตนได้ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเพื่อสนองเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติดังนี้
1. สร้างความรู้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พุทธศักราช 2548  เพื่อใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติตน โดยนำสาระสำคัญของจรรยาบรรณ ทั้ง 9 ข้อ มากำหนดแนวปฏิบัติ แนวทางพัฒนา ความคาดหวังจากการพัฒนาและพฤติกรรมที่แสดงออก รวมทั้งหลักฐาน ร่องรอยของการปฏิบัติ
          2. อบรมพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในคุณธรรม จริยธรรมสำคัญ อันได้แก่ คุณธรรมตามหลักธรรมของศาสนา  การปฏิบัติศาสนกิจ การปฏิบัติตนในฐานะต่าง ๆ  ขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติของสังคม คุณธรรมตามแนวพระราชดำรัส ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถปฏิบัติตน ให้คำแนะนำผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
          3. อบรมพัฒนาตนเองในด้านวินัย กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักในการรักษาระเบียบ วินัย กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อตกลง กติกาของส่วนรวม ทั้งในระดับ หน่วยงาน ชุมชนและระดับสังคมทั่วไป สามารถปฏิบัติตน ให้คำแนะนำผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
          4. ศึกษาดูงานในโรงเรียนที่มีความโดดเด่นด้านคุณธรรม การรักษาวินัยและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติ ผลของการปฏิบัติตนในการเป็นแบบอย่าง หรือต้นแบบในด้านคุณธรรม การรักษาวินัยและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ สร้างแรงจูงใจและกำลังใจในการปฏิบัติตนและเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี
          5. อบรมพัฒนาจิต การปฏิบัติธรรม  ฝึกปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ฝึกสมาธิ การรู้จักปล่อยวาง เป็นการสร้างเสริมพลังใจให้กับตนเองในการประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ 
6. พัฒนาตนเองเกี่ยวกับงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ หรืองานที่ได้รับมอบหมาย ให้เกิดประสิทธิภาพได้ และสามารถแนะนำ ให้การส่งเสริม สนับสนุนเพื่อนร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานของโรงเรียนได้ตามบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ
7. พัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการใช้วิทยาการ เทคโนโลยี เพื่อการปฏิบัติงานและการเข้าถึงแหล่งความรู้ในการพัฒนาตนได้อย่างเหมาะสมตามยุคสมัย ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง
8. เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงาน องค์กรภายนอกและงานของชุมชน เพื่อพัฒนาความสามารถของตนเองและแสดงศักยภาพให้หน่วยงาน องค์กรภายนอกและชุมชนได้ประจักษ์  เป็นการสร้างความศรัทธา ความเชื่อถืออีกทางหนึ่งด้วย
9. มีความจริงใจในการประพฤติ ปฏิบัติตนตามกรอบจรรยาบรรณของวิชาชีพ
          10. หมั่นตรวจสอบการปฏิบัติตนตามกรอบจรรยาบรรณของวิชาชีพเพื่อการปรับและพัฒนาการปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอ
          การสะท้อนผลการพัฒนาและการปฏิบัติตน
          จากการพัฒนาตนเอง ดังที่กล่าวมา ข้าพเจ้าได้นำมาปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน สามารถสะท้อนผลของการพัฒนาและการปฏิบัติ ที่ส่งผลต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพและต่อสังคม ดังนี้
จรรยาบรรณต่อตนเอง
1. มีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเอง ด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
         เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการปฏิบัติราชการและการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นแบบอย่างให้กับครู ผู้ร่วมงาน ประชาชนทั่วไปและนักเรียน  ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพ สนใจใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ รักการอ่านเพื่อนำความรู้ใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน มีผลงานด้านการเขียน งานเขียนเพื่อการพัฒนาบุคลากรภายในโรงเรียน  มีผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาความรู้และความคิดในวิชาชีพจนเป็นที่ยอมรับ  ส่งเสริมการปฏิบัติงาน โดยมีแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2. รัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อวิชาชีพ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
          เป็นสมาชิกและร่วมกิจกรรมกับชมรมวิชาการ ชมรมวิชาชีพด้วยความเต็มใจ ร่วมแสดงความยินดีกับผู้ร่วมวิชาชีพ ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ  ปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ มุ่งมั่น ด้วยความซื่อตรง รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างเคร่งครัด รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพครู
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3. รักเมตตาเอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
         ปฏิบัติต่อนักเรียนทุกคนเสมือนลูกหลาน ให้บริการประชาชน ผู้มารับบริการอย่างเต็มใจเสมอภาคและมีคุณภาพโดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้รับบริการ ส่งเสริมความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับ บริการด้วยการยกย่อง ชมเชย ให้กำลังใจ ใช้กิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการให้ความช่วยเหลือนักเรียน ทั้งด้านการเรียน ทุนการศึกษา ปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนในความดูแลรับผิดชอบได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ให้ความเป็นกันเองกับผู้มารับบริการ
4. ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
          จัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนที่มีความสามารถได้รับการส่งเสริมให้ได้เรียนรู้และมีเวทีในการแสดงออก  จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยรอบด้านให้กับนักเรียน สนับสนุนให้ครูและบุคลากรจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนอย่างเต็มความสามารถ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
5. ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ
          มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ศึกษา อบรมเพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทย อ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ ใช้วาจาสุภาพอ่อนหวาน แต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะ  ปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ตามโอกาสอำนวย
6. ไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์หรือผู้รับบริการ
          ไม่ใช้วาจาว่าร้าย ดุด่าหรือสร้างความกระทบกระเทือนใจให้กับนักเรียน  สนับสนุนให้มีและใช้แหล่งเรียนรู้อย่างหลายหลายเพื่อพัฒนาด้านสติปัญญา การเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน  เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความรู้ ความสามารถ ความคิดเห็น การแสดงออกอย่างสุนทรีย์และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข ไม่แสวงประโยชน์จากนักเรียนและผู้รับบริการ  เคารพในความคิดเห็นของนักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมความเจริญเติบโตทางร่างกาย จัดเวลา สถานที่และอุปกรณ์ให้ออกกำลังกาย นันทนาการ
7. ให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
          ปฏิบัติงานเต็มเวลา อุทิศตนเพื่อปฏิบัติงานนอกเวลาอยู่เสมอ ไม่แสวงประโยชน์จากนักเรียนและผู้รับบริการ  เป็นแกนนำและส่งเสริมการปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส โดยใช้หลักธรรมาภิบาล ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริตตามระเบียบและแบบแผนของทางราชการ  ส่งเสริมด้านจิตอาสาเพื่อรับใช้สังคม
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
8. พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
          บริหาร จัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้านต่อผู้ร่วมวิชาชีพ ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ  ใช้ระบบคุณธรรมในการพิจารณาความชอบ  มีความรัก  ความสามัคคีและร่วมใจกันผนึกกำลังในการพัฒนาการศึกษา  มีแนวคิดในการบริหารที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเอง ปกป้องศักดิ์ศรี สิทธิของตนเองและเพื่อนร่วมวิชาชีพโดยการแสดงออกอย่างเปิดเผย  แสดงให้เห็นถึงความรัก ความสามัคคีอย่างจริงใจต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อสังคม
9. พึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
          แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันสูงสุด ร่วมกิจกรรมในการปกป้องสถาบัน แนะนำความรู้สาขาต่าง ๆ ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งให้บริการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ให้ชุมชนเข้ามาใช้บริการ เช่น ห้องสมุด บริการอินเทอร์เน็ต ระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย เป็นศูนย์กลางการศึกษาประวัติและวิถีชุมชน เป็นศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมในชุมชน ส่งเสริมด้านจิตอาสาเพื่อรับใช้สังคมในรูปแบบที่หลากหลาย
โดยมีผลการปฏิบัติที่เด่นชัดส่งผลให้เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและชุมชนและเป็นผลของการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพในด้านจรรยาบรรณต่อสังคม ในแง่มุมต่าง ๆ จนได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลยกย่องชมเชยที่สำคัญ เป็นประจักษ์พยานในความสำเร็จ ได้แก่
          1. โรงเรียนปรางค์กู่ ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2555 ตัวแทนระดับจังหวัดประเภทสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่  
          2. การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติทั้งด้านการบริหารและการเรียนการสอน ได้รับรางวัลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ประจำปี 2556 
          3. การรณรงค์ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ด้านกฎหมาย ได้รับโล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย เนื่องในวันรพี ประจำปี 2555 จาก ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ
          4. โรงเรียนปรางค์กู่ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศการแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ “วันรพีพัฒนศักดิ์ เชิดชูคุณูปการ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย”
          5. เป็นผู้มีจิตอาสา ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานและนักเรียนมีจิตอาสา เพื่อดูแลรับใช้สังคมทุกรูปแบบ ได้รับการยอมรับ ยกย่องและการขอบคุณจากหน่วยงานที่ร้องขอเป็นจำนวนมาก ในรูปแบบโครงงานคุณธรรม
          6. โรงเรียนปรางค์กู่ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันมวยไทยสมัครเล่น รุ่นฟลายเวท เนื่องในการแข่งขันกีฬานักเรียน “สพม.28 เกมส์” ประจำปีการศึกษา 2555
          7. โรงเรียนปรางค์กู่ได้รับรางวัลชนะเลิศคะแนนรวมการแข่งขันมวยไทยสมัครเล่นชาย เนื่องในการแข่งขันกีฬานักเรียน “สพท.28 เกมส์” ประจำปีการศึกษา 2555
          8. โรงเรียนปรางค์กู่ผ่านเกณฑ์การประเมินรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง
          การประเมินการปฏิบัติตน
          ในการประเมินผลการปฏิบัติตนในการดำรงตนตามกรอบข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พุทธศักราช 2548 ข้าพเจ้าได้ดำเนินการดังนี้
1. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ประเมินด้วยการตรวจสอบ เทียบเคียงการปฏิบัติ แนวทางพัฒนา ความคาดหวังจากการพัฒนาและพฤติกรรมที่แสดงออก รวมทั้งหลักฐาน ร่องรอยของการปฏิบัติกับประเด็นรายละเอียดของจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา
          2. การเสนอผลงานเพื่อรับการประเมินเพื่อรับการรับรอง ยกย่องชมเชย ในด้านการประพฤติปฏิบัติตนตามกรอบข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พุทธศักราช 2548 กับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สำนักงานคุรุสภาจังหวัด/เขตพื้นที่ และสำนักงานคุรุสภา ส่งผลให้ได้รับการยอมรับและให้ได้รับรางวัล เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นที่ประจักษ์ ประจำปี 2555
ผลที่เกิดขึ้นจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้
          จากความสำเร็จของการที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพจนเป็นที่ประจักษ์และได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ในครั้งนี้ ได้นำมาใช้ในการพัฒนาด้วยการเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตน ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาบุคคลโดยรอบข้างให้ปฏิบัติตามจนเกิดผล ดังนี้
          ผลที่เกิดกับนักเรียน
          1. นักเรียนโรงเรียนปรางค์กู่ทุกคนได้รับการพัฒนาในด้าน คุณธรรม จริยธรรม ผ่านการจัดกิจกรรมโครงงานคุณธรรมจริยธรรมทั้งระบบทุกระดับชั้น
          2. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร ได้แก่  สามารถปฏิบัติตนและแสดงออกถึงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติตน มีความรักและความมุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทย  รวมทั้งแสดงออกถึงความมีจิตอาสา จิตสาธารณะในการเข้าดูแลรับใช้สังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
          3. นักเรียนมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และมีจิตอาสา ผ่านกิจกรรมเขตพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละ ชั้นเรียน
          4. นักเรียนมีผลการประเมินคุณภาพภายนอก ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ในการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง การเป็นนักเรียนที่ดีของโรงเรียน และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ในระดับ ดีมากทุกตัวบ่งชี้
          5. นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีภาวะผู้นำ กล้าแสดงออก สามารถเป็นตัวแทนของโรงเรียนในการทำกิจกรรมร่วมกับภายนอกได้อย่างเหมาะสม
6. นักเรียนได้รับการยอมรับ ยกย่องชมเชย ประกาศเกียรติคุณจากภายนอก เช่น โล่รางวัลเยาวชนผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ รางวัลนักเรียนผู้มีคุณธรรมจริยธรรมดีเด่น รางวัลเหรียญทองจากการประกวดแข่งขันด้านวิชาการในงานศิลปะหัตกรรมนักเรียนระดับภาค เป็นต้น
          ผลที่เกิดกับครูและบุคลากร
          1. ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม แบบแผนการปฏิบัติตนตามกรอบจรรยาบรรณของวิชาชีพ ผ่านการประชุม อบรม การนิเทศภายใน สัมมนา ศึกษาดูงาน กิจกรรม       ยกย่อง เชิดชูเกียรติคุณอย่างต่อเนื่อง
          2. ครูและบุคลากรมีความศรัทธาในวิชาชีพ มีความทัศนคติที่ดี มีความรัก ความผูกพันกับโรงเรียน มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน มีขวัญกำลังในที่ดีและพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
          3. ครูและบุคลากรมีความก้าวหน้าในวิชาชีพมีการศึกษาเพิ่มพูนวุฒิทางการศึกษา มีวิทยฐานะที่สูงขึ้น
          5. ครูได้รับการยอมรับ ยกย่องชมเชย ประกาศเกียรติคุณจากภายนอก เช่น รางวัลหนึ่งแสครูดี รางวัลคุรุสดุดี  และรางวัลครูสอนดี   ดังนี้
          - นางสาวอุบล ขาวสะอาด ได้รับรางวัล เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี 2556     
- นายบุญถึง ต้นงาม ได้รับรางวัล “ครูสอนดี” ประจำปี 2556
- นายสถิตย์  รชตธำมรงค์ ได้รับรางวัล เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี 2557      
ผลที่เกิดกับโรงเรียน
1. โรงเรียนนำจรรยาบรรณของวิชาชีพมาใช้เป็นค่านิยม วัฒนธรรมในการทำงานขององค์กร
2. โรงเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่ มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด เป็นระเบียบ ร่วมรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน
3. เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน กิจกรรมที่ประสบความสำเร็จของโรงเรียนอันเนื่องมาจากความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน ได้รับการยอมรับและเป็นแบบอย่างที่ดี
4. โรงเรียนได้รับการยอมรับ ยกย่องชมเชย ประกาศเกียรติคุณจากภายนอก  ดังนี้
- โรงเรียนปรางค์กู่ ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2555 ตัวแทนระดับจังหวัดประเภทสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 
                   - การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติทั้งด้านการบริหารและการเรียนการสอน ได้รับรางวัลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ประจำปี 2556 
                   - การรณรงค์ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ด้านกฎหมาย ได้รับโล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย เนื่องในวันรพี ประจำปี 2555 จาก ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด    ศรีสะเกษ
                   - โรงเรียนปรางค์กู่ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศการแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ “วันรพีพัฒนศักดิ์ เชิดชูคุณูปการ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย”
                   - เป็นผู้มีจิตอาสา ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานและนักเรียนมีจิตอาสา เพื่อดูแลรับใช้สังคมทุกรูปแบบ ได้รับการยอมรับ ยกย่องและการขอบคุณจากหน่วยงานที่ร้องขอเป็นจำนวนมาก ในรูปแบบโครงงานคุณธรรม
                   - โรงเรียนปรางค์กู่ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันมวยไทยสมัครเล่น รุ่นฟลายเวท เนื่องในการแข่งขันกีฬานักเรียน “สพม.28 เกมส์” ประจำปีการศึกษา 2555
                   - โรงเรียนปรางค์กู่ได้รับรางวัลชนะเลิศคะแนนรวมการแข่งขันมวยไทยสมัครเล่นชาย เนื่องในการแข่งขันกีฬานักเรียน “สพท.28 เกมส์” ประจำปีการศึกษา 2555

                   - โรงเรียนปรางค์กู่ผ่านเกณฑ์การประเมินรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  
ระดับทอง
          ผลที่เกิดกับชุมชน
          1. ชุมชนเกิดความศรัทธาในตัวผู้บริหาร ครูและโรงเรียนส่งผลถึงความร่วมมือที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน
          2. ชุมชนเข้ามาใช้อาคาร สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกของโรงเรียนในการจัดกิจกรรมร่วมกัน
          3. ชุมชนใช้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ การเข้าถึงข้อมูล องค์ความรู้ด้วยระบบอินเทอร์เน็ต และการขอรับคำปรึกษาด้านวิชาการ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ
          4. แบบอย่างการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้บุคคลในชุมชนได้รับการยกย่องชมเชย จากภายนอก เช่น รางวัลบุคคลที่มีคุณงามความดี  รางวัลปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น รางวัลครอบครัวตัวอย่างที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต เป็นต้น
           ผลที่เกิดกับสังคมและประเทศชาติ
          1. เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนให้กับผู้ประกอบวิชาชีพครูด้วยนำเสนอผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเผยแพร่ในหนังสือคุรุสดุดี ผู้ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประจำปี 2555
          2. ผู้บริหารเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการพัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรสายงานการสอน เช่น การอบรมพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา  การอบรมครูบรรจุใหม่  การอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือประเภทต่าง ๆ
3. เป็นสถานที่ศึกษาดูงานของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทั้งในและต่างเขตพื้นที่
แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
          การพัฒนาการปฏิบัติตนตามกรอบจรรยาบรรณของวิชาชีพเพื่อ “ศักดิ์ศรี”ของความเป็นครูและ
การพัฒนาผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติตนตามกรอบจรรยาบรรณของวิชาชีพที่ส่งผลถึง“ประสิทธิภาพของงาน”  เป็นสิ่งที่ต้องกระทำควบคู่กัน โดยมีแนวในการดำเนินการ ดังนี้
1. จัดทำแบบแผนการปฏิบัติตนตามกรอบจรรยาบรรณของวิชาชีพ  ด้วยความร่วมมือของครูและบุคลากรเพื่อเป็นคู่มือการปฏิบัติตนตามกรอบจรรยาบรรณของวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่

          2. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรใช้จรรยาบรรณของวิชาชีพ  เป็นกรอบในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และมีการยกย่อง ชมเชย ผู้ที่ตั้งมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพให้เป็นที่ปรากฏต่อสังคมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระดับโรงเรียน ขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น